
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกเชียงราย
เป็นสถานศึกษาสังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค
กรมอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
ตั้งอยู่
เลขที่
91
หมู่
9
กิโลเมตรที่
7
ถนนเด่นห้า
ดงมะดะ
ตำบลป่าอ้อดอนชัย
อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย
หมายเลขโทรศัพท์
0-5367-3912
โทรสาร 0-5367-3911 E-mail
Address: kctc_cr@ hotmail.com ,tanthai.kctc2019@gmail.com website:
http://www.kctc.ac.th พื้นที่ของวิทยาลัยฯ
มีทั้งหมด
2
แปลง คือ
แปลงที่
1
เป็นพื้นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกเชียงราย
พื้นที่ 36
ไร่
1
งาน
95.4
ตารางวา
เป็นที่ของราชพัสดุสารบัญ ลำดับที่
0551-003-37
เล่ม
1
หน้า
3
อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย
แปลงที่
2
เป็นที่ตั้ง
บ้านพักของบุคลากร วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกเชียงราย
ซึ่งห่างจากที่ดินแปลงที่
1
ประมาณ
100
เมตร
เดิมทีเป็นสนามกีฬากลางของตำบลป่าอ้อดอนชัย
สภาตำบลได้ยกให้วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกเชียงรายในพื้นที่
37
ไร่
82
ตารางวา
เป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
และได้นำขึ้นทะเบียนราชพัสดุแล้ว
รวมที่ดิน
2 แปลง
มีเนื้อที่ทั้งหมด
73 ไร่
2
งาน
77.4
ตารางวา

|
สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม
การเมือง
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกเชียงราย เป็นสถานศึกษาที่ตั้งอยู่
ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย ตำบลป่าอ้อดอนชัย ตั้งอยู่
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงราย
และมีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงราย ประมาณ 10
กิโลเมตร สภาพพื้นที่ย่านกลางของตำบลเป็นที่ราบลุ่ม
พื้นที่ด้านทิศใต้เป็นเนินเขาสลับทุ่งโล่งติดกับเทือกเขาดอยปุย
ทิศตะวันตกติดเทือกเขาดอยฮาง
บริเวณที่ราบลุ่มย่านกลางของตำบลมีแม่น้ำแม่ลาว ,
น้ำแม่กรณ์ไหลผ่าน เป็นย่านที่ตั้งที่อยู่อาศัย
และประกอบกสิกรรมที่สำคัญของตำบล
ตำบลป่าอ้อดอนชัยมีเนื้อที่ประมาณ 72 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
45,000 ไร่
โดยมีเส้นทางคมนาคมทางบกเชื่อมต่อกับทางจังหวัดเชียงราย
เป็นถนนลาดยางมาตรฐาน จำนวน 2
สายทางที่มีรถโดยสารรับจ้างวิ่งอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนั้นเป็นถนนลาดยางเชื่อมต่อระหว่างตำบลข้างเคียง และ
หมู่บ้านภายในตำบล จำนวน 5 เส้นทาง
ทางด้านแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับประเทศของ
ตำบลป่าอ้อดอนชัย คือวัดร่องขุ่น ตั้งอยู่ บ้านร่องขุ่นกม.ที่
817-818 ทางขวามือ ก่อนจะถึงตัวเมือง ๑๒ กม.
โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
จิตรกรชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เป็นผู้ออกแบบทั้งหมด
และมีพื้นที่ประมาณ 7 ไร่เศษ ของคุณวันชัย วิชญชาคร
และเงินบริจาค ของผู้ที่มีจิตศรัทธา
ลักษณะเด่นของวัดคือพระอุโบสถที่ประดับตกแต่งด้วยสีขาวเป็นพื้น
ประดับด้วยกระจกบนปูนปั้นเป็นลายไทย
โดยเฉพาะเหนืออุโบสถที่ประดับด้วยสัตว์ในเทพนิยาย
เป็นรูปกึ่งช้างกึ่งวิหคเชิดงวงชูงา
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนโดยฝีมือของอาจารย์
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นผู้บรรจงลงมือสร้างสรรค์ขึ้น |
|
|